บรรเลงเพลงดอกราตรี เอ็นโดรฟิน

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

เพลงหยดน้ำบนผืนทราย

Categories: Uncategorized | 1 ความเห็น

เพลง ขุนเขายะเยือก นิค ลายสือ

Categories: Uncategorized | 3 ความเห็น

คิดนอกกรอบ… สู่อาชีพสร้างสรรค์

 

             สัญลักษณ์ที่ใช้แทนความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดอย่างหนึ่งคือหลอดไฟ ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์อัจฉริยะของเอดิสันการที่คนในยุคปัจจุบันนี้ได้ใช้หลอดไฟฟ้ากันแบบมีความสุขทุกวันนี้ก็เพราะการมีความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันวงการศึกษาได้ตื่นตัวในการพัฒนาทักษะ ทั้ง 5 ด้านแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อให้เกิดทักษะในการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด มีความสุขอยู่ในสังคมได้ด้วยความมั่นคง มีสิ่งของเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตที่แปลกใหม่ตลอดเวลา 

           ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจเรื่องของอุปนิสัยของคนเราว่ามีความเกี่ยวข้องกับการคิดในลักษณะต่างๆอย่างไร อุปนิสัยในการคิด หมายถึง การมีอำนาจในการควบคุมอย่างชาญฉลาดต่อการเผชิญกับปัญหาที่ไม่อาจรู้คำตอบได้โดยทันที จึงมีการจำแนกอุปนิสัยในการคิดที่ดีได้ถึง  16  ประการ คือ การยืนหยัด อดทน  การจัดการกับความหุนหัน การรับฟังคนอื่นด้วยความเข้าใจ และเห็นใจ  การคิดอย่างมีความยืดหยุ่น คิดเกี่ยวกับความคิดของเรา การฟันฝ่าเพื่อความถูกต้องและแม่นยำ  การตั้งปัญหาและคำถาม การประยุกต์ใช้ความรู้เดิมกับสถานการณ์ใหม่ การคิดและการสื่อสารอย่างชัดเจน แม่นยำ การรวบรวมข้อมูลในทุกทาง สร้างสรรค์ จินตนาการ และนวัตกรรม การตอบสนองต่อความประหลาดใจและความเกรงใจ การรับผิดชอบต่อความเสี่ยง การมีอารมณ์ขัน การคิดอย่างพึ่งพา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องดังนั้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมี พลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึกการใช้สมองซีกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย การฝึกการคิดนอกกรอบ การฝึกการคิดทางบวก การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ แมรี่ โอมีโอรา ได้กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่เกิดจากจิตอันปราดเปรียวและรวดเร็ว สามารถจับหัวใจประเด็นของปัญหาจากข้อเท็จจริง คำพูด แผนภูมิ ความคิดเห็นต่างๆแล้วนำมาสร้างเป็นข้อเสนออย่างมีพลัง มีความสดใสใหม่ โน้มน้าวจิตใจของผู้พบเห็น จึงจำเป็นที่จะต้องมีองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่มีลักษณะอเนกนัย คือ ความคิดริเริ่ม (Originality) มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากของเดิม / คิดดัดแปลง ประยุกต์เป็นความคิดใหม่  ความคิดคล่องตัว (Fluency)  ด้านถ้อยคำ (Word Fluency) หลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้และไม่ซ้ำแบบผู้อื่น ด้านความสัมพันธ์ (Associational Fluency)  จากสิ่งที่คิดริเริ่มออกมาได้อย่างเหมาะสม ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความคิดที่สามารถนำเอา ความคิดริเริ่มนั้นมา แสดงออก ให้เห็นเป็น รูปภาพได้อย่างรวดเร็ว ความคิดคล่องด้านความคิด (Ideational Fluency) เป็นการสร้างความคิดให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดได้ทันที ที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) มีความเป็นอิสระคิดได้หลายๆอย่าง ความคิดสวยงามละเอียดลออ (Elaboration) มีความรอบคอบ มีความคิดสวยงาม ด้านคุณภาพ มีความประณีต ในความคิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้านผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ เป็นผลผลิตที่แปลกใหม่และมีค่าต่อผู้คิด สังคมและวัฒนธรรม เป็นผลผลิตที่เป็นไปตามปรากฏการณ์นิยมในเชิงที่ว่ามีความคิดดัดแปลงหรือยกเลิก ความคิดที่เคยยอมรับกัน มาก่อน เป็นผลผลิตซึ่งได้รับจากการกระตุ้นอย่างสูงและมั่นคงด้วยระยะยาว หรือความพยายามอย่างสูง เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลปัญหาซึ่งค่อนข้างจะคลุมเครือและไม่แจ่มชัด

                    คนที่จะเกิดความคิดนอกกรอบได้นั้นต้องเริ่มต้นจากระดับความคิดสร้างสรรค์ ตั้งแต่  3 ระดับขึ้นไป คือ ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปประยุกต์ใช้  ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง คำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพนำไปประยุกต์ใช้งานได้  ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง สรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการสร้างหลักการ ทฤษฎีที่เป็นสากล เพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพที่หลากหลาย ดังนั้นการจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 2 กำหนดวิสัยทัศน์ คือ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบนั้น มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป้าหมาย คือ ภายในปี 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ การสอนคิดด้วยโครงงาน  การเรียนการสอนแบบบูรณาการได้เสนอกลยุทธ์และแนวทางในการให้ครูใช้สอนโครงงานกับผู้เรียนในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นจะได้ผลงานคือรายงานและสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงความเข้าใจ ความมีทักษะการปฏิบัติรวมทั้งการมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้เด็กที่เรียนรู้ทางทักษะการคิดเมื่อเรียนจบระดับอนุปริญญาสามารถที่จะประกอบอาชีพได้ด้วยตัวเอง

จากการจัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาหรืออุดมศึกษาในปัจจุบันได้สอนเทคนิคการคิดที่กำลังเป็นที่สนใจของคนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจนั่นก็คือการคิดด้วยเทคนิค SCAMPER ในการใช้เทคนิคนี้ ขั้นแรกคือจะต้องระบุหรือรู้ก่อนว่าต้องการจะแก้ปัญหาอะไรเป็นการเฉพาะหรือถ้าหากว่าไมได้เป็นปัญหาแต่ต้องการที่จะพัฒนาความคิดที่ท้าทายต่อตัวเอง หรือ ธุรกิจ หรือ ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการการฝึกจึงเกิดอาชีพที่เรียกว่า “ ธุรกิจ เอส เอ็ม อี” และธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ขายอาชีพธุรกิจเล็กๆที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ  เช่น  การทำเทียนหอม การทำขนมไทย การทำดอกไม้แห้ง การทำอาหาร เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาคือ “ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้” คำถามที่เกิดขึ้นโดยใช้หลักการของ SCAMPER คือ
• S = Substitute มีสิ่งที่สามารถใช้ทดแทนในกระบวนการขายเดิมหรือไม่ ? คืออะไร?
• C = Combine สามารถรวมกิจกรรมการขายเข้ากับกิจกรรมอื่นๆ ได้หรือไม่ ? อย่างไร?
• A = Adapt จะปรับปรุงกระบวนการเดิมได้อย่างไร หรือนำวิธีการขายของคนอื่นมาปรับใช้ได้หรือไม่?
• M = Magnify มีสิ่งที่สามารถขยายหรือต้องให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในการขาย?
• P = Put to Other Uses เปลี่ยนไปขายสินค้าอย่างอื่นได้หรือไม่?
• E = Eliminate (or Minify) มีสิ่งที่สามารถขจัดหรือลดความซับซ้อนในกระบวนการขาย?
• R = Rearrange (or Reverse) สามารถเปลี่ยนลำดับหรือจัดเรียงวิธีการขายใหม่?
การตั้งคำถามลักษณะนี้จะช่วยให้เกิดความคิดที่แตกต่างและหลายหลาย ท้ายที่สุดก็จะพบวิธีแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้น
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการนำหลักการของ SCAMPER มาใช้คือการแก้ไขปัญหาของ Ray Kroc ผู้ก่อตั้ง MacDonald เช่น
ขายร้านอาหารและอสังหาริมทรัพย์แทนการขายแฮมเบอร์เกอร์โดยใช้หลัก P = Put to Other Uses
ให้ลูกค้าชำระเงินก่อนทานอาหาร R = Rearrange
ให้ลูกค้าบริการตนเองและลดการจ้างบริกร E = Eliminate  เป็นต้น

ดังนั้นจึงขอนำเสนอตัวอย่างการทำงานที่เกิดจากการคิดนอกกรอบ หรืออาชีพสร้างสรรค์ที่สามารถทำได้ง่ายๆ ถ้าเป็นคนที่มากล้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ นั่นคือการผลิตชิ้นงานจากกระดาษหนังสือพิมพ์คือ การทำเปเปอร์มาเช่ เป็นงานที่สามารถทำได้หลายรูปแบบและทำได้ง่าย ใช้เทคนิคง่ายๆ วัสดุที่ใช้ก็หาได้ง่ายและราคาถูกคือกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ใช้แล้ว กระดาษพิมพ์ดีดหรือกระดาษที่ไม่มีลวดลายสำหรับปิดชั้นนอกสุดเพื่อเตรียมการลงสี  ต่างๆเหล่านี้สามารถหาได้ทั่วไปในท้องตลาด หลักการทำของงานเปเปอร์มาเช่คือการนำกระดาษที่ถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆและผ่านการแช่น้ำจนเปื่อยแล้วมาปิดลงบนแบบที่เตรียมไว้ ปิดหลายๆชั้น แต่ละชั้นจะทากาวไว้และจะต้องรอให้กาวแห้งก่อน แต่งผิวให้เรียบร้อย เสร็จแล้วจึงตกแต่งด้วยสี การเปเปอร์มาเช่เป็นงานที่คุณสามารถสร้างผลงานตามจินตนาการของตัวเองได้โดยไม่ซ้ำแบบใคร ลงทุนน้อย วัสดุที่ต้องใช้ งานกระดาษที่ส่วนใหญ่ใช้กระดาษราคาถูกสุดๆคือกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ไม่ใช้แล้ว บ้างทีก็อาจจะได้มาแบบฟรีๆครับ บางครั้งเราอาจต้องการโชว์ลายหนังสือให้ดูเป็นธรรมชาติ  กระดาษหนังสือพิมพ์ประเภทธุรกิจสีขาวก็ใช้ได้  เครื่องมือและอุปกรณ์  กรรไกร  มีดคัตเตอร์ แผ่นรองตัด  กาว สี ใช้สีพลาสติกหลายๆสีตามแบบที่จะทำ เคลือบเงา อาจใช้แล็กเกอร์ทาหรือเป็นสเปรย์พ่น  แปรงทาสีหลายๆขนาด  แปลงขนาดเล็กที่ใช้วาดลวดลายละเอียดๆ กระดาษทรายละเอียด ตะไบขัดเล็บก็ใช้ได้ดีใช้ขัดในพื้นที่เล็กๆแคบๆ อุปกรณ์ตกแต่งเช่น ตาไก่ ลูกปัด โต๊ะที่ใช้ในการทำงาน ควรเป็นโต๊ะที่มีผิวหน้าเรียบ สะอาด มีความมั่นคงแข็งแรง จากแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จึงกลายเป็นอาชีพอิสระที่ทำให้ผู้คนที่หันมาประกอบอาชีพเป็นของตัวเองมีความสุขเพราะเป็นคนที่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ  กล้าเสี่ยง อาชีพอิสระเป็นการประกอบธุรกิจส่วนตัว  จึงต้องมีการลงทุน ในขณะที่ตัวเป็นลูกจ้าง ไม่ต้องลงทุนอะไร ซึ่งการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง เพราะไม่รู้ว่าผลลัพท์จะออกมา อย่างไร ดังนั้น ก่อนที่จะตกลงใจประกอบ อาชีพใด จึงต้อง พิจารณา วิเคราะห์ และไตร่ตรองอย่างดีเสียก่อน มีความคิดสร้างสรรค์  การประกอบอาชีพอิสระมิได้ยึดติดกับรูปแบบ ใด ๆ เนื่องจากผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องเป็นนายของตนเอง  ฉะนั้นในการ ปรับปรุงสินค้าหรือบริการ สามารถทำได้อย่างมีอิสระ เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไร ในการดำเนินธุรกิจ  มีความเชื่อมั่นในตนเอง  ธุรกิจแต่ละประเภทต้องการ การตัดสินใจที่แตกต่างกัน ผู้ประกอบอาชีพอิสระจึงต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง ในภาวะการณ์ที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ธุรกิจบางประเภท สามารถสวนกระแสเศรษฐกิจโดยรวมได้ ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพอาชีพอิสระจึงต้องมีความมั่นใจ เพื่อจะได้พา ธุรกิจของตนให้ผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ ได้  อดทน ไม่ท้อถอย การประกอบอาชีพทุกอย่างย่อมมีทั้งกำไร และ ขาดทุน โดยเฉพาะ เมื่อเริ่มประกอบการใหม่ ๆ จะต้องประสบปัญหาและอุปสรรคบ้าง  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ผู้ประกอบอาชีพจึงต้องพร้อมที่จะรับข้อผิดพลาด และนำมาแก้ไขด้วยความอดทน  มีวินัยในตนเอง การประสบความสำเร็จในอาชีพ ซึ่งเราเป็นเจ้าของ  กิจการเอง จำเป็นจะต้องมีวินัย มีกฎระเบียบการทำงานต้องสม่ำเสมอ ถ้าขาดวินัยการประกอบอาชีพก็อาจไม่ประสบผลสำเร็จ การเป็น  ผู้มีวินัย นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบอาชีพทุกประเภทเพราะ วินัยจะเป็นสิ่งที่คอยกำหนดให้ผู้ประกอบการปฏิบัติงานตามแผนงาน  มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานที่มีเกียรติหรือไม่ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้อง รักในงานที่ทำ และให้เกียรติกับงานนั้น ๆ เสมอ  มีความรู้ การประกอบอาชีพอิสระ จะต้องรับรู้ข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ประโยชน์ของการรับรู้ข่าวสารจะ ทำให้สามารถปรับปรุงธุรกิจของตนเองให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาผลที่ได้ก็คือกำไร  มีมนุษย์สัมพันธ์  การประกอบอาชีพอิสระจะต้องมีมนุษยสัมพันธ์อันดีเพื่อผลประโยชน์ในธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า บุคคลรอบข้างหรือคู่แข่งขันก็ตาม เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์อันดี จะทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงานเป็นอย่างดี  มีความซื่อสัตย์  ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้า การบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจในการขายสินค้าหรือบริการและกลับมาใช้บริการอีกเป็นหัวใจสูงสุด เพื่อผลประโยชน์ ต่อธุรกิจ และต่อตนเองในที่สุด  มีความรู้พื้นฐานในการเริ่มทำธุรกิจ  การที่จะทำอะไรสักอย่างหนึ่งเราควรได้รู้จักสิ่งที่จะทำอย่างน้อย ให้รู้ว่าทำจากอะไร ซื้อวัตถุดิบจากไหนตลาดอยู่แหล่งใดและหากต้องการทราบข้อมูล

จะเห็นได้ว่าการมีไอเดียที่สร้างสรรค์ดังที่กล่าวมานั้นแล้วยังมีผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่คนทั้งโลกให้การยอมรับในการเป็นคนที่คิดนอกกรอบตลอดเวลาแม้ว่าเวลานี้จะคงไว้แต่ชื่อเสียง และผลงานของโลกไร้พรมแดนของเครื่องมือสื่อสารและการท่องโลกไร้สาย ผู้นั้นก็คือ  สตีฟ จ็อบส์ เป็นอัจฉริยะผู้ริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ให้แก่ตลาด Consumer Electronics หรือสินค้าไฮเทคต่าง ๆ สตีฟ จ็อบส์ ประสบความสำเร็จในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อันเป็นที่ติดอกติดใจแก่สาวก Apple ทั้งขาประจำหรือขาจร  ความสามารถของสตีฟ จ็อบส์ที่รังสรรค์ประสบการณ์ชั้นเลิศให้บังเกิดแก่ผู้บริโภคจากการใช้ผลิตภัณฑ์ Apple แล้ว ความสามารถอีกด้านนึงที่โดดเด่น และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หรือในหลาย ๆ ครั้งอาจมีความสำคัญมากกว่าเสียด้วยซ้ำ หากคิดที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา นั่นคือ ความมุ่งมั่นและความตั้งใจที่จะสร้างสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นตามแนวคิดที่ได้วางไว้ โดยไม่ยอมลดละเป้าหมาย หรือมาตรฐานที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะต้องท้าทาย หรือ ต่อสู้กับแรงต้านต่าง ๆ  แต่สุดท้ายทำได้แค่ 50 นั่นเป็นเพราะว่าเมื่อมีความคิดหรือไอเดียใหม่ ๆ ที่เชื่อว่าสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ (ซึ่งการจะได้ไอเดียดี ๆ นั้นก็ยากแล้ว) แต่สิ่งที่ยากกว่าคือ การแปรเปลี่ยนไอเดียดี ๆ เป็นสินค้าหรือบริการที่จับต้องได้ ทั้งนี้เนื่องจากการสร้างความแตกต่างนั้น หลาย ๆ ครั้งเราต้องกล้าที่จะท้าทายกับความคิด หรือความเชื่อเดิม ๆ สิ่งที่ยากขึ้นไปอีกในฐานะผู้นำขององค์กร ก็คือจะทำอย่างไรให้บุคคลากรในองค์กรของเรามีความเชื่อมั่นในแนวคิด และท้าทายความเชื่อเดิม ๆ และพยายามอย่างไม่ลดละเพื่อที่จะทำลายความเชื่อนั้น ๆ ให้สำเร็จ สตีฟ จ็อบส์ ได้พิสูจน์แล้วตลอดชีวิตการทำงานของเขาว่า สิ่งที่เขามีดีไม่แพ้วิสัยทัศน์ในการมองทิศทางตลาด ก็คือ ความมุ่งมั่นอย่างไม่ลดละ เพื่อที่จะพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ถึงแม้เป้าหมายหรือมาตรฐานที่ต้องการนั้นจะสูงเพียงใด ซึ่งในหลาย ๆ ครั้งดูสูงจนเกินเอื้อม และดูไม่มีเหตุผลในบางครั้ง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ การกำหนดว่าคอมพิวเตอร์ Notebook ของ Apple จะต้องไม่มีพัดลมระบายอากาศ และจะต้องมีแบตเตอรี่ที่มีพลังงานสำรองที่มากกว่า (ทั้ง ๆ ที่ Notebook ทุกเครื่องในตลาดมีพัดลมระบายอากาศหมด)  การดีไซน์ iPod ให้ไม่มีปุ่มปิดเปิด และกำหนดการทำงานโดยใช้ปุ่มบังคับเดียว  การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของสินค้าแต่ละตัว โดยไม่พยายามเป็นสินค้าที่ทำได้หลายอย่างจนเกินไป ได้แก่ iPod สามารถเล่นเพลงได้อย่างเดียว แต่ไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ตัวอย่างข้างต้นเป็นแค่เพียงตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเพื่อแสดงให้เห็นว่า สตีฟ จ็อบส์ตั้งโจทย์ที่หินให้แก่ทีมงานโดยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้ตัวเองแตกต่างจากคู่แข่งหากทำได้ดี แต่จะเห็นว่าโจทย์ที่ให้แก่ทีมงานนั้น ทุก ๆ ครั้งเป็นการท้าทายความคิด หรือความเชื่อเดิม ๆ ของตลาด และในหลาย ๆ ครั้งผมเชื่อว่าเป็นการท้าทายความคิดเดิม ๆของทีมงานของ สตีฟ จ็อบส์ เอง หากสตีฟ จ็อบส์ ไม่มีความมุ่งมั่นที่แรงกล้าในการที่จะผลักดันทีมงานให้ท้าทายสิ่งต่าง ๆ หรือหาก สตีฟ จ็อบส์ ลดระดับของมาตรฐานลง เราคงไม่ได้ผลิตภัณฑ์ดี ๆ มาใช้จนถึงทุกวันนี้ เพราะกว่าจะได้มานั้นต้องผ่านการทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าจะได้สิ่งที่พอใจ ซึ่งผมเชื่อว่าทีมงานของ สตีฟ จ็อบส์ คงไม่ได้มีความสุขมากนักในช่วงเวลานั้น แต่ผมเชื่อว่าร้อยทั้งร้อย เมื่อผ่านมาได้ และเห็นผลงานของตัวเองประสบความสำเร็จ คงดีใจที่ทุ่มเทกัดฟันฝ่าฟันเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่า มีปราชญ์ท่านนึงเคยกล่าวไว้ว่า “ความแตกต่างระหว่างผู้ที่ประสบความสำเร็จ กับ ผู้ล้มเหลว ก็คือ ผู้ล้มเหลวมักจะยอมแพ้ หรือ ยอมจำนนเร็วเกินไป” สตีฟ จ็อบส์ มีความคล้ายคลึงกับ ท่านผู้ประกอบการ SME ในหลาย ๆ ด้าน ผ่านตัวหนังสือชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์เพิ่มมากขึ้นไม่มากก็น้อย หากนำผลิตภัณฑ์ของ Apple ทุกชิ้นมาวางเรียงกันจะเห็นว่านอกจากคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ แล้ว ไม่มีผลิตภัณฑ์ชิ้นใดเลยที่เป็นนวัตกรรมใหม่ถอดด้าม ในหลาย ๆ ครั้ง Apple กลับเป็นผู้มาทีหลังด้วยซ้ำในตลาดนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น iPod ที่ออกมาในช่วงที่มีเครื่องเล่น MP3 อย่างมากมายในตลาดและวางจำหน่ายล่วงหน้าไปแล้วหลายปี และที่เด่นชัดที่สุดคือ การออก iPhone มาท้าทายเจ้าตลาด ไม่ว่าจะ Nokia หรือ Blackberry แต่ทุก ๆ ครั้ง ไม่ว่าตลาดที่เข้าไปจะแน่นไปด้วยผู้มาก่อนเพียงใด Apple สามารถที่จะเป็นผู้ชนะในตลาดนั้น ๆ และไม่ใช่ชนะธรรมดา แต่สามารถกวาดส่วนแบ่งตลาดแบบถล่มทลาย โดยผู้ที่มาก่อนถึงกับต้องทรุดกันเลยทีเดียวในช่วงเวลาไม่นานสถานการณ์เช่นนี้ ก็ไม่ต่างจาก SME ไทยของเราที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ความแตกต่างของตัวสินค้าหรือบริการก็ดูไม่แตกต่างกันมาก และดูไม่ออกว่าจะสามารถสร้างความแตกต่างอะไรไปได้มากกว่านี้ หากเราสามารถเรียนรู้จากปรากฎการณ์ที่สตีฟ จ็อบส์ สามารถรังสรรค์ให้เกิดความสำเร็จอย่างท่วมท้นแก่ผลิตภัณฑ์ Apple ได้อย่างข้าใจ เราคงได้แนวคิดดี ๆ เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนการบริหารธุรกิจของเราเองให้ดียิ่งขึ้นผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นของ Apple นั้นมีความโดดเด่นอย่างมากด้วยกัน 2 ด้าน คือ 1) ดีไซน์ที่สวยเรียบ แต่ดูหรูโก้ และมักจะโดดเด่นกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาดในประเภทเดียวกัน และ 2) ความง่ายในการใช้งาน ซึ่งถึงแม้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะบรรจุเทคโนโลยีชั้นสูงเข้าไป แต่การใช้งานของผลิตภัณฑ์ Apple จะให้ความรู้สึกง่ายกว่าการใช้งานผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของคู่แข่งอย่างมาก

จากเรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดคือการที่คนเรามีทักษะการคิดสร้างสรรค์ สามารถทะลุออกนอกกรอบทำให้เห็นถึงความแปลกใหม่ และไม่ซ้ำแบบใคร จึงต้องหันมาดูระบบการศึกษาของแต่ละประเทศที่ได้ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์อย่างไรบ้าง  เป็นที่รู้กันดีว่าใน 10 ประเทศอาเซียนนั้น มีประเทศที่ได้จัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงนั่นก็คือ ประเทศสิงค์โปร์ ที่น่าสนใจคือประเทศที่เป็นผู้นําด้านการศึกษาอย่างสิงคโปร์ มีนโยบายอะไร ที่ทําให้บุคลากรของประเทศมีคุณภาพ  เมื่อศึกษาดูจะพบว่า สิงคโปร์ใช้นโยบาย “สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น” (Teach Less, Learn More) เป็นกรอบวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาเพื่อเตรียมประเทศเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 และใช้แนวคิดเรื่องชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ช่วยเติมกรอบความคิดในการเปลี่ยนแปลงสิงคโปร์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น   หลายคนอาจสงสัยว่า การสอนให้น้อยลง และเรียนรู้ให้มากขึ้น นั่นหมายความว่าอะไร ตามความคิดของสิงคโปร์ ไม่ได้หมายความว่าสอนให้น้อยลงจริงๆ แต่จะใช้วิธีการสอนที่ หลากหลายและลึกขึ้น อย่างเช่น วิธีแบบปฏิสัมพันธ์ การลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้แบบประสม การเรียนรู้ที่ สอดคล้องกับการทํางานของสมอง การเรียนรู้จากปัญหา และการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา ผ่านการทํางานเป็นทีม หรือที่ เรียกว่าชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่สําคัญ ประเทศที่มีการพัฒนาในอันดับต้นๆ อย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย ต่างก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ ทําให้บุคลากรของประเทศเหล่านี้ได้เปรียบในการแข่งขันเป็นอย่างมาก ประเทศไทยจึงควรเน้นการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น และเน้นที่การฟังและการพูดเพื่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้าชาติอาเซียนในอนาคตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรลดระดับความสําคัญของเนื้อหาสาระในวิชาอื่นๆ ลง เพื่อให้ทันในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนต่อไป

                           ………………………………………………………………………………………

ที่มา  :  Thinking School  สอนให้คิด

ผู้แต่ง : บรรจง  อมรชีวิน

ที่มา  :   http://www.thaifranchisecenter.com/document/list.php?type=100

เรียบเรียงโดย : รุจี  เฉลิมสุข

Categories: Uncategorized | 28 ความเห็น

สรุปสาระสำคัญของการอ่านหนังสือทั้งหมดที่ได้บันทึกผ่านมา

             จากการอ่านหนังสือและศึกษาทางเว็ปไซต์ จำนวน 9 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคิดของคนเราที่น่าสนใจทำให้มองเห็นแนวทางในการนำไปใช้ในอนาคตข้างหน้า โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยนในปี พ.ศ. 2558  จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนให้เกิดการขับเคลื่อนวิถีชีวิตใหม่ในสังคมใหม่ ชาติพันธ์ที่มีความสับสนในอนาคตต่อไป

              การใช้ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต คนที่จะมีวิธีการคิดที่ดีได้ คนจะมีปัญญา คือ ต้องมีสติ รู้ ระลึกถึง ผู้ที่มีความคิดเฉียบแหลม ทันสมัย ไม่เหมือนใคร คิดได้ก่อนใครจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบในทุก ๆ ด้าน สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและประสบผลสำเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน  ความคิดของมนุษย์เป็นผลที่เกิดจากกลไกของสมองซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเป็นไปตามธรรมชาติ ผลของการใช้ความคิดจะแสดงให้เห็นในลักษณะของการสรุปเป็นความคิดรวบยอด การจำแนกความแตกต่าง การจัดกลุ่ม การจัดระบบการแปลความหมายของข้อมูล รวมทั้งการสรุปอ้างอิง การเชื่อมโยงสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับข้อมูลที่ได้มา อาจเป็นความจริงที่สัมผัสได้ หรือเป็นเพียงจินตนาการที่ไม่อาจสัมผัสได้ ดังนั้น สมองจึงควรได้รับการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและคุณภาพของสมองมิได้อยู่ที่การมีสมองเท่านั้น แต่อยู่ที่การใช้สมองเป็นสำคัญ การฝึกทักษะกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เยาวชนควรได้รับ การพัฒนาเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

          ดังนั้นจึงสามารถฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมี พลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

 การคิดด้วยเทคนิค SCAMPER  มาจากตัวย่อที่อธิบายแนวทางในการที่จะช่วยให้ความคิดใหม่ๆเพิ่มขึ้น

       S       =       การทดแทน (Substitute)

       C       =       การรวมเข้าด้วยกัน (Combine)

      A       =       การประยุกต์ (Adapt)

      M      =       การขยายความ (Magnify)

      P       =       การใช้ในแบบอื่น (Put to Other Uses)

     E       =       การกำจัด (Eliminate หรือ ทำให้ลดลง Minify)

     R       =       การเรียบเรียงใหม่ (Rearrange หรือ การย้อนกลับ Reverse)

                 บทสรุปคือจะต้องระบุหรือรู้ก่อนว่าต้องการจะแก้ปัญหาอะไรเป็นการเฉพาะหรือถ้าหากว่าไมได้เป็นปัญหาแต่ต้องการที่จะพัฒนาความคิดที่ท้าทายต่อตัวเอง หรือ ธุรกิจ หรือ ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการสมองที่สร้างสรรค์ คือสมองที่ไม่เชื่อว่าวิธีการหรือสภาพที่ถือว่าดีที่สุดที่มีอยู่นั้น ถือเป็นที่สุดแล้ว   เป็นสมองที่เชื่อว่ายังมีวิธีการหรือสภาพที่ดีกว่าอย่างมากมายซ่อนอยู่หรือรอปรากฏตัวอยู่   แต่สภาพหรือวิธีการเช่นนั้นจะเกิดได้ต้องละจากกรอบวิธีคิดหรือวิธีดำเนินการแบบเดิมๆ

Categories: Uncategorized | 3 ความเห็น

การศึกษาอาเซียน AEC และการศึกษาของประเทศสิงคโปร์

ชื่อเรื่อง  :  การศึกษาอาเซียน AEC และการศึกษาของประเทศสิงคโปร์
 
ผู้แต่ง  :   กรุงเทพธุรกิจ
 
ปีที่พิมพ์  :  2555

ผู้จัดพิมพ์ : http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=429

ปีที่พิมพ์ : 2553

จำนวนหน้า :   1 หน้า

ISBN  :  –
 
สาระสังเขป :  เมื่อพิจารณาด้านความต้องการแรงงานของอาเซียน จะเห็นได้ว่า มีการกําหนดสาขาวิชาชีพหลักที่มีการจัดทําข้อตกลงยอมรับร่วมกัน หรือ MRA (Mutual Recognition Agreement) เพื่อรับรองคุณสมบัติวิชาชีพ และช่วยอํานวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงาน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 8 สาขา คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี การสํารวจ และการท่องเที่ยว นั่นหมายความว่ า วิชาชีพเหล่านี้จะมีการแข่งขันกันสูง เราจึงต้องพัฒนาให้พร้อมกับการแข่งขัน และในอนาคต เป็นไปได้ที่อาเซียนรจะพิจารณาให้เปิดเสรีในสาขาวิชาชีพอื่นด้วย
 
ในการพัฒนาบุคลากรวิชาชีพทั้ง 8 สาขา นอกจากต้องให้ความสําคัญกับวิชาพื้นฐาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีให้ได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จําเป็นต้องพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย เนื่องจากกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติเอาไว้ว่า
 
“ภาษาที่ใช้ในการทํางานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” (The working language of ASEAN shall be English) ประเทศที่จะแข่งขันในเวทีอาเซียนได้ จึงต้องมีความชํานาญในภาษาอังกฤษด้วย
 
หากเราพิจารณาดัชนีการพัฒนามนุษย์โดยดูข้อมูลจาก Human Development Report 2011 ของ UNDP พิจารณาเฉพาะดัชนีการศึกษา (Education Index)  ที่ คํานวณจากอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ และสัดส่วนของเด็กวัยเรียนที่ ได้รับการศึกษาระดับประถมจนถึงอุดมศึกษา ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มและจัดอันดับจากทั้งหมด 187 ประเทศ แต่จะเปรียบเทียบเฉพาะสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ปรากฏว่า
 
กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูงมาก
สิงคโปร์ (อันดับที่ 26)
บรูไน (อันดับที่ 33)
 
กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูง
มาเลเซีย (อันดับที่ 61)
กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับปานกลาง
ไทย (อันดับที่ 103)
ฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 112)
อินโดนีเซีย (อันดับที่ 124)
เวียดนาม (อันดับที่ 128)
สปป.ลาว (อันดับที่ 138)
กัมพูชา (อันดับที่ 139)
 
กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ
พม่า (อันดับที่ 149)
 
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีความแตกต่างทางการศึกษาค่อนข้างมาก จึงเป็นเรื่องยากที่ จะแข่งขันกันได้อย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการยอมรับในคุณภาพการศึกษาของประเทศ ที่มีอันดับการพัฒนามนุษย์ที่ต่ำกว่า คําถามคือ เราจะทําอย่างไรให้ทุกประเทศในอาเซียนมีการพัฒนามนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
 
ที่น่าสนใจคือประเทศที่เป็นผู้นําด้านการศึกษาอย่างสิงคโปร์ มีนโยบายอะไร ที่ทําให้บุคลากรของประเทศมีคุณภาพ  เมื่อศึกษาดูจะพบว่า สิงคโปร์ใช้นโยบาย “สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น” (Teach Less, Learn More) เป็นกรอบวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาเพื่อเตรียมประเทศเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 และใช้แนวคิดเรื่องชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ช่วยเติมกรอบความคิดในการเปลี่ยนแปลงสิงคโปร์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
 
หลายคนอาจสงสัยว่า การสอนให้น้อยลง และเรียนรู้ให้มากขึ้น นั่นหมายความว่าอะไร ตามความคิดของสิงคโปร์ ไม่ได้หมายความว่าสอนให้น้อยลงจริงๆ แต่จะใช้วิธีการสอนที่ หลากหลายและลึกขึ้น อย่างเช่น วิธีแบบปฏิสัมพันธ์ การลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้แบบประสม การเรียนรู้ที่ สอดคล้องกับการทํางานของสมอง การเรียนรู้จากปัญหา และการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา ผ่านการทํางานเป็นทีม หรือที่ เรียกว่าชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่สําคัญ ประเทศที่มีการพัฒนาในอันดับต้นๆ อย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย ต่างก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ ทําให้บุคลากรของประเทศเหล่านี้ได้เปรียบในการแข่งขันเป็นอย่างมาก ประเทศไทยจึงควรเน้นการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษให้มากขึ้น และเน้นที่การฟังและการพูดเพื่อสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้าชาติอาเซียนในอนาคตได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรลดระดับความสําคัญของเนื้อหาสาระในวิชาอื่นๆ ลง
 
สรุปแล้ว ถ้าเราพัฒนาบุคลากรของประเทศไม่ทัน เราจะแข่งขันกับประเทศที่มีศักยภาพสูงอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียได้ยาก นอกจากนี้ การแข่งขันกับแรงงานชาวฟิลิปปินส์ที่สามารถติดต่อสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ก็ค่อนข้างยากเช่นกัน  สถาบันการศึกษาต่างๆ จึงต้องเร่งส่งเสริมพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพให้ได้มาตรฐานอาเซียน รวมทั้งปรับปรุงรูปแบบวิธีการเรียนการสอน ตลอดจนเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้แรงงานไทยก้าวสู่ตลาดแรงงานฝีมือระดับนานาชาติได้ และหากเป็นไปได้ ประเทศสมาชิกอาจจะกําหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการภายในประเทศด้วย เพื่อก้าวข้ามกําแพงทางภาษาของคนรุ่นใหม่ และนําไปสู่อัตลักษณ์อาเซียนอย่างแท้จริง
 
คำสำคัญ  :  การศึกษาอาเซียน AEC     อาเซี่ยน    การศึกษาของประเทศสิงคโปร์
 
 
Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

Thinking School สอนให้คิด

ชื่อเรื่อง : Thinking School  สอนให้คิด

ผู้แต่ง : บรรจง  อมรชีวิน

ผู้จัดพิมพ์ : นายบรรจง  อมรชีวิน

ปีที่พิมพ์ : 2554

จำนวนหน้า : หน้า 226 – 246

ISBN : 978 – 616 – 544 – 029 – 5

สาระสังเขป :  หนังสือ Thinking School  สอนให้คิด แบ่งเนื้อหาเป็น 3  ตอนหลัก คือ

ตอนแรกเป็นการทำความเข้าใจในเรื่องโรงเรียนที่สอนให้รู้จักคิดและกระบวนการคิดที่ช่วยในการคิด

ตอนที่สอง เป็นเรื่องกรอบคิดและแนวทางการคิด

ตอนที่สาม เป็นเรื่องเกีี่ยวกับเครื่องมือ

ตอนที่ 3  เครื่องมือและเทคนิคที่ช่วยในการคิด

อุปนิสัยในการคิด (Habits of Mind )

อุปนิสัยในการคิด เป็นเทคนิคที่ช่วยการส่งเสริมการคิดให้มีประสิทธิภาพ คินค้นขึ้นโดย ดร. อาร์เธอร์ คอสตา (Arthur Costa, 2001)

อุปนิสัยในการคิด หมายถึง การมีอำนาจในการควบคุมอย่างชาญฉลาดต่อการเผชิญกับปัญหาที่ไม่อาจรู้คำตอบได้โดยทันที

อุปนิสัยในการคิดที่ดี  16  ประการ

1. การยืนหยัด อดทน ( Persisting)

2. การจัดการกับความหุนหัน

3. การรับฟังคนอื่นด้วยความเข้าใจ และเห็นใจ

4. การคิดอย่างมีความยืดหยุ่น

5. คิดเกี่ยวกับความคิดของเรา

6. การฟันฝ่าเพื่อความถูกต้องและแม่นยำ

7. การตั้งปัญหาและคำถาม

8. การประยุกต์ใช้ความรู้เดิมกับสถานการณ์ใหม่

9. การคิดและการสื่อสารอย่างชัดเจน แม่นยำ

10. การรวบรวมข้อมูลในทุกทาง

11. สร้างสรรค์ จินตนาการ และนวัตกรรม

12. การตอบสนองต่อความประหลาดใจและความเกรงใจ

13. การรับผิดชอบต่อความเสี่ยง

14. การมีอารมณ์ขัน

15. การคิดอย่างพึ่งพา

16. การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

การคิดด้วยเทคนิค SCAMPER

SCAMPER  มาจากตัวย่อที่อธิบายแนวทางในการที่จะช่วยให้ความคิดใหม่ๆเพิ่มขึ้น

S       =       การทดแทน (Substitute)

C       =       การรวมเข้าด้วยกัน (Combine)

A       =       การประยุกต์ (Adapt)

M      =       การขยายความ (Magnify)

P       =       การใช้ในแบบอื่น (Put to Other Uses)

E       =       การกำจัด (Eliminate หรือ ทำให้ลดลง Minify)

R       =       การเรียบเรียงใหม่ (Rearrange หรือ การย้อนกลับ Reverse)

ในการใช้เทคนิคนี้ ขั้นแรกคือจะต้องระบุหรือรู้ก่อนว่าต้องการจะแก้ปัญหาอะไรเป็นการเฉพาะหรือถ้าหากว่าไมได้เป็นปัญหาแต่ต้องการที่จะพัฒนาความคิดที่ท้าทายต่อตัวเอง หรือ ธุรกิจ หรือ ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ

คำสำคัญ :  การสอน  การสอนอย่างมีประสิทธิผล  สอนให้คิด

Categories: Uncategorized | 4 ความเห็น

C & D สุดยอด นวัตกรรม

ชื่อเรื่อง : C & D สุดยอดนวัตกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผู้เรียน

มิติใหม่ของการจัดทำผลงานวิชาการของข้าราชการครู

ผู้แต่ง : ถวัลย์  มาศจรัส

ผู้จัดพิมพ์ : สถาบันส่งเสริมและพัฒนาการอ่านการเขียนแห่งประเทศไทย (สพกท.)

ปีที่พิมพ์ :

จำนวนหน้า  206  หน้า

เลขเรียกหนังสือ :

สาระสังเขป : C & D สุดยอดนวัตกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนมิติใหม่ของการจัดทำผลงานวิชาการของข้าราชการครู

บทที่ 1 ปฐมภาค C & D “โลกของคนอัจฉริยะ”

C & D คืออะไร ..คือนวัตกรรมแห่งศตวรรษที่ 21 มาจาก Copy Development

บทที่ 2 การเรียนรู้ในโลกใบเดิม

กว่ามนุษย์จะค้นพบว่าปรากฎการณ์ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า  มิได้เกิดจากแรงอาถรรพณ์ ต้องสะสมองค์ความรู้เพื่อเข้าถึงวิทยาศาสตร์ด้วยเวลาอันยาวนาน  โลกเดิมจึงมีเวลาเป็นต้นทุน

บทที่ 3 การเรียนรู้ในโลกใบใหม่

โลกใบเก่า หมายถึง ความล้าหลังในทุกๆเรื่อง ตามสายตาของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน โลกใบใหม่ หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า และพัฒนาการที่ต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งของวิทยาการด้านต่างๆที่เกดขึ้นอยู่ทุกวินาที

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ค.ศ. 2001 ถือเป็นก้าวสำคัญเป็นสหัสวรรษใหม่ตามคติของชาวโลก ในด้านการศึกษาจึงตื่นตัวปลุกกระแสการเรียนรู้ของมนุษย์ องค์ความรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มาล้นจึงลืมฉุกคิดว่ายังเรื่องอื่นๆอีกมากที่เรารู้แต่คนอื่นยังไม่รู้  การวิ่งตามความรู้โดยขาดการจำแนกแยกแยะว่ามีประโยชน์ที่แท้จริงต่อชีวิตเรามากน้อยเพียงใด ขาดการไตร่ตรอง กลายเป็นกับดัก ไม่สามารถเอาตัวรอดได้

บทที่ 4 ทางลัดสำหรับการเรียนรู้

การเรียนรู้เป็นเรื่องของศิลปะ ศิลปะเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา เวลาสำหรับการสรรค์สร้าง และ การสร้างสรรค์

ทางลัด : ทางออกของการเรียนรู้ องค์ความรู้มีมากขึ้น แต่เวลาสำหรับการเรียนรู้มีน้อนลง ชีวิตจึงเริ่มเสียสมดุล  ในวัยทำงานองค์ความรู้ใหม่ๆก็จำเป็นในการพัฒนาวิชาชีพให้เจริญก้าวหน้า ขณะเดียวกันก็วิ่งตามองค์ความรู้ของคนอื่นมาก จนองค์ความรู้ตัวเองต่ำต้อยลงไปทุกวัน

ร่างทรง : อีกหนึ่งทางออก ของการเรียนรู้ ในโลกทศวรรษที่ 21 จะยิ่งมากไปด้วยร่างทรงองค์ความรู้ของผู้อื่น ที่เสนอหน้ามาป้อนความรู้ผ่านนักวิชาการแบบไม่มีวันพักผ่อน

บทที่ 5 การลอกเลียนแบบการเรียนรู้ของมนุษย์

การลอกเลียนแบบ : รากเหง้าที่ถูกลืม

การลอกเลียนแบบ : ต้นแบบของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การลอกเลียนแบบในวัฒนธรรมเดียวกัน : บทเรียนอันคับแคบ

ต้นแบบใหม่: การเลียนแบบใหม่

บทที่ 6  C & D กับการศึกษาไทย

ถ้าไม่มีวันนั้น ก็ไม่มีวันนี้ หลักสูตรการศึกษา : หลักสูตร C & D

บทที่ 7 ปรัชญาการศึกษาจากยุโรปและอเมริกา

ปรัชญาในการจัดการศึกษาไทย

ปรัชญาสารัตถนิยม

ปรัชญาสัจนิยม

ปรัชญาพิพัฒนนิยม

ปรัชญาอัตนิยม

ปรัชญาปฏิรูปนิยม

ปรัชญาการศึกษาผสมผสาน

คนต้นคิด คือนักปรัญชาในประเทศยุโรป และอเมริกาทั้งสิ้น ที่นำเข้ามาใช้ในประเทศไทย คือ นักการศึกษาไทยได้รับทุนและมีโอกาสไปศึกษาต่อในประเทศในแถบนั้น

บทที่ 8  C & D ทฤษฎีทางการศึกษา

ทฤษฎีความมีเหตุผลของมนุษย์   คนต้นคิด  พลาโต อริสโตเติล

การพัฒนาไปตามกฎเกณฑ์ธรรมชาติ   คนต้นคิด  รุสโซ ฟลอเบล เพสตารอสซี่

การเชื่อมโยงความคิด  คนต้นคิด  จอห์น  ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์  แฮร์บาร์ต

การเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ คนต้นคิด  ธอร์นไดค์

การวางเงื่อนไข  คนต้นคิด  พาฟลอฟ

พัฒนาการทางสติปัญญา คนต้นคิด  เพียเจต์

พหุปัญญา  คนต้นคิด  การ์ดเนอร์

การสร้างความรู้ด้วยตนเอง  คนต้นคิด วีก็อทสกี้

บททีีี่ 9  C & D  บันทึกประวัติศาสตร์ด้านการศึกษาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

หลักสูุตรการศึกษาไทย : หลักสูตรการศึกษาตะวันตก

หลักสูตรปี 2521 หลักสูตรปี 2544 ได้ลอกเลียนแนวคิดการจัดทำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ให้ครู ผู้บริหารจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จึงโกลาหล และนี่คือพลังการตื่นตัว ผลดีที่เกิดจาก  C & D

บทที่ 10   C & D  เมื่ออนาคตไล่ล่าปัจจุบัน

กาลอวสานของมายาคติในศตวรรษที่ 20 วันนี้รูปแบบการสอนเดิมๆ ได้ผ่านพ้นยุคสมัยไปแล้ว

C & D ทางเลือกและทางรอดของชีวิตในศตวรรษที่ 21  นั่นคือต้องใส่ใจกับการพัฒนาตนเองและต้องใส่ใจนวัตกรรมการศึกษาอย่างหลากหลาย

อาวุธที่แหลมคมของวิชาชีพครูนอกจากแผนการจัดการเรียนรู้แล้วก็คือ นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา( Educational Innovation)  คือ สิ่งที่ทำขึ้นใหม่ หรือแปลกไปจากเดิม อาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรืออุปกรณ์  หมายถึง ความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์ และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย

บทที่ 11  C & D  นวัตกรรมการสอน

แบบอุปนัย

แบบนิรนัย

แบบวิทยาศาสตร์

แบบแก้ปัญหา

แบบปฏิบัติการ

แบบร่วมรู้สืบเสาะ

แบบเน้นกระบวนการ

แบบหน่วย

แบบโครงงาน

แบบบทบาทสมมุติ

แบบกลุ่มสัมพันธ์

แบบซิปปา

แบบบูรณาการ

การสร้างเรื่อง

แบบศูนย์การเรียน

ทฤษฎีการศึกษาไทย พระธรรมปิฎกกับแนวการสอนตามพระพุทธองค์

แบบสากิจฉา ได้แก่ พูดคุย โต้ตอบกัน

แบบบรรยาย

แบบถาม – ตอบปัญหา

วิธีเอกังลักษณะ ได้แก่ การตอบตรงไปตรงมา แบบตายตัว

วิธีภัชชลักษณะ ได้แก่ แบบแยกประเด็นให้ชัดเจน

วิธีปฏิปุจฉาลักษณะ ได้แก่ แบบย้อนถาม

วิธีฐูปนียลักษณะ ได้แก่ แบบไม่ตอบ พักปัญหาไว้ก่อน

แบบวางกฎ ข้อบังคับ

ศาสตราจารย์ ดร. สาโรช  บัวศรี แนวคิดการนำหลักธรรมอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาจัดการศึกษาได้ 4 ขั้น คือ

ขั้นกำหนดปัญหา

ขั้นตั้งสมมุติฐาน

ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล

ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผล

ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ แนวคิดการนำอริยสัจ 4 ควบคู่กับหลักกัลยามิตรธรรม 7 ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน

การกำหนดและจับประเด็นปัญหา

การร่วมกันคิดวิเคราะห์เหตุของปัญหา

การจัดลำดับความเข้มของระดับปัญหา

การกำหนดจุดหมาย หรือสภาวะพ้นปัญหา

การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา

การจัดลำดับจุดหมายของภาวะพ้นปัญหา

การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง

ดร. รุ่ง  แก้วแดง ให้ความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย  ทั้ง 9 สาขา

บทที่ 12   C & D  การจัดทำผลงานทางวิชาการ

นวัตกรรมทางการศึกษา มี 7 ประเภท

สื่อ / นวัตกรรม / สิ่งประดิษฐ์

รายงานการศึกษา ค้นคว้าที่นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

รายงานการศึกษาผู้เรียน

รายงานวิจัยในชั้นเรียน

รายงานการศึกษาผลงานนักเรียน

ผลงานอื่นที่มีประโยชน์

ประเมินคุณภาพ 3 ด้าน ความสมบูรณ์ ถูกต้อง / ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ / ประโยชน์ต่อผู้เรียน

บทที่ 13  C & D  นวัตกรรมการพัฒนาวิชาชีพ

เวลาโลก : เวลาชีวิตของเรา

ต้นทุนเวลาในชีวิตของคุณเหลือมากน้อยเพียงใด

ข้อคิดจากกาลเวลา

C & D สุดยอดนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและวิชาชีพของมนุษย์

ความรู้เท่าหัว เอาตัวไม่รอด

C & D จะพัฒนาคุณภาพชีวิต  และวิชาชีพของเราได้อย่างไร

บทที่ 14    จาก  C & D  (Copy and Development)  ถึง   C & D  (Creative and Development)

C ฐานภูมิปัญญาของมวลมนุษยชาติ        D  ต่อยอดภูมิปัญญาอันไม่รู้จบ

อย่างไรจึงจะเรียกว่าสร้างสรรค์ และพัฒนา   ความคิดสร้างสรรค์เป็นการรวบรวมประสบการณ์ทั้งหมดที่ผ่านมา เพื่อสร้างรูปแบบใหม่ ความคิดใหม่ๆ หรือผลผลิตใหม่ๆ

ตัวอย่าง C & D  (Creative and Development) ประติมากรรมโลกุตระ หน้าศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติติ์ และการฟังเรื่องเล่า นำมาเขียนหนังสือ โรงเรียนตายแล้ว  จนได้รับรางวัล

บทที่ 15    ปัจฉิมภาค  C & D นวัตกรรมอัจฉริยะแห่งศตวรรษที่ 21

คุณอย่าหยุดแค่ C & D   แต่อัจฉริยะอย่างคุณต้อง C & D  (Creative and Development)  อยู่เสมอ

 

คำสำคัญ :  C & D  สุดยอดพัฒนาการจัดการเรียนรู้ผู้เรียน   ถวัลย์  มาศจรัส

Categories: Uncategorized | 1 ความเห็น

พัฒนาสมองห้าด้าน (ครูเพื่อศิษย์)

 ชื่อเรื่อง : พัฒนาสมองห้าด้าน

ผู้แต่ง  : นายแพทย์วิจารณ์  พานิช

ผู้จัดพิมพ์ : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/418836?locale=en

ปีที่พิมพ์ : 2553

จำนวนหน้า : 1 หน้า

ISBN :  

สาระสังเขป : การพัฒนาสมองที่สำคัญ มาจากหนังสือ 21st Century Skills : Rethinking How Students Learn  บทที่ 1 Five Minds for the Future  เขียนโดยศาสตราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) คือ Howard Gardner

         นี่คือพลังสมอง หรือจริต ๕ แบบ   ที่คนในอนาคตจะต้องมี   และครูเพื่อศิษย์จะต้องหาทางออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้พัฒนาการสมองใน ๕ ด้านนี้     พลังสมอง ๓ ใน ๕ ด้านนี้ เป็นพลังเชิงทฤษฎี หรือที่เรียก cognitive mind ได้แก่ สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind)  สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind)  และสมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind)   อีก ๒ ด้านเป็นพลังด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์ ได้แก่ สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind)  และด้านจริยธรรม (ethical mind)    

         การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมอง ๕ ด้าน ไม่ดำเนินการแบบแยกส่วน แต่เรียนรู้ทุกด้านไปพร้อมๆ กัน หรือที่เรียกว่าเรียนรู้แบบบูรณาการ   และไม่ใช่เรียนจากการสอน แต่เป็นการเรียนจากการปฏิบัติโดยตัวนักเรียนเอง    ครูต้องทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ และช่วย facilitate หรือเป็นโค้ช   ครูที่เก่งและเอาใจใส่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้ลึกและเชื่อมโยง  นี่คือมิติทางปัญญา

 สมองด้านวิชาและวินัย
          คำว่า disciplined มีได้ ๒ ความหมาย  หมายถึงมีความรู้และทักษะในวิชาในระดับที่เรียกว่าเชี่ยวชาญ (master)   และสามารถพัฒนาตนเองในการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  

          หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ คำว่า “เชี่ยวชาญ” ในโรงเรียน หรือในการเรียนรู้ของเด็ก ต้องคำนึงถึงบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริบทของการเจริญเติบโตทางสมองของเด็ก 

          คำว่า “เชี่ยวชาญ” หมายความว่า ไม่เพียงรู้สาระของวิชานั้น   แต่ยังคิดแบบผู้ที่เข้าถึงจิตวิญญาณของวิชานั้น   คนที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ไม่เพียงรู้เรื่องราวทางประวิติศาสตร์ แต่ยังคิดแบบนักประวัติศาสตร์ด้วย

          เป้าหมายคือการเรียนรู้แก่นวิชา ไม่ใช่จดจำสาระแบบผิวเผิน   รู้แก่นวิชาจนสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นได้  

สมองด้านสังเคราะห์

          นี่คือความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่างๆ มากลั่นกรองเฉพาะส่วนที่สำคัญ  และจัดระบบนำเสนอใหม่อย่างมีความหมาย   คนที่มีความสามารถสังเคราะห์ได้ดีเหมาะที่จะเป็นครู นักสื่อสาร และผู้นำ

          ครูต้องจัดให้ศิษย์ได้เรียนเพื่อพัฒนาสมองด้านสังเคราะห์ ซึ่งต้องเรียนโดยการฝึกเป็นสำคัญ   โดยครูต้องเสาะหาทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์มาใช้ในขั้นตอนของการเรียนรู้จากการทำ reflection หรือ AAR หลังการทำกิจกรรมเพื่อฝึกหัด  การฝึกสมองด้านสังเคราะห์ต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ “ปฏิบัตินำ ทฤษฎีตาม”

          และการสังเคราะห์ กับการนำเสนอเป็นคู่แฝดกันเป็น multimedia presentation   เป็นภาพยนตร์สั้น  เป็นละคร 

 สมองด้านสร้างสรรค์

          นี่คือทักษะที่คนไทยขาดที่สุด   โดยที่คุณสมบัติสำคัญที่สุดของสมองสร้างสรรค์คือ “คิดนอกกกรอบ”  

          แต่คนเราจะคิดนอกกรอบเก่งต้องเก่งความรู้ในกรอบเสียก่อน   แล้วจึงคิดนอกกรอบ   คนที่มีความรู้และทักษะอย่างดีเรียกว่าผู้เชี่ยวชาญ   ต่างจากผู้สร้างสรรค์ตรงที่ผู้สร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ๆ ออกไปนอกขอบเขตหรือวิธีการเดิมๆ     และการสร้างสรรค์ต้องใช้สมองหรือทักษะอื่นๆ ทุกด้านมาประกอบกัน  

          การสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่มักเป็นผลงานของคนอายุน้อย   เพราะคนอายุน้อยมีธรรมชาติติดกรอบน้อยกว่าคนอายุมาก  เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าการมีความรู้เชิงวิชาและวินัย ความสร้างสรรค์นั้นเรียนรู้หรือฝึกได้   ครูเพื่อศิษย์จึงต้องหาวิธีฝึกฝนความสร้างสรรค์ให้แก่ศิษย์ 

          สมองที่สร้างสรรค์ คือสมองที่ไม่เชื่อว่าวิธีการหรือสภาพที่ถือว่าดีที่สุดที่มีอยู่นั้น ถือเป็นที่สุดแล้ว   เป็นสมองที่เชื่อว่ายังมีวิธีการหรือสภาพที่ดีกว่าอย่างมากมายซ่อนอยู่หรือรอปรากฏตัวอยู่   แต่สภาพหรือวิธีการเช่นนั้นจะเกิดได้ต้องละจากกรอบวิธีคิดหรือวิธีดำเนินการแบบเดิมๆ   ศัตรูสำคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์คือการเรียนแบบท่องจำ

          เปรียบเทียบสมอง ๓ แบบข้างต้นได้ว่า สมองด้านวิชาและวินัยเน้นความลึก (depth)  สมองด้านการสังเคราะห์เน้นความกว้าง (breadth)  และสมองด้านสร้างสรรค์เน้นการขยายหรือฝืน (stretch)

 สมองด้านเคารพให้เกียรติ

          คุณสมบัติด้านเคารพให้เกียรติผู้อื่นมีความจำเป็นในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งด้านกายภาพและด้านนิสัยใจคอ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนา    มนุษย์ในศตวรรษที่ ๒๑ จึงต้องเป็นคนที่คุ้นเคยและให้เกียรติคนที่มีความแตกต่างจากที่ตนคุ้นเคยได้  ครูเพื่อศิษย์จะฝึกฝนสมองด้านนี้ของศิษย์ 

สมองด้านจริยธรรม

          นี่คือทักษะเชิงนามธรรม   และเรียนรู้ซึมซับได้โดยการชวนกันสมมติและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน ว่าตัวเองเป็นอย่างไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   และหากคนทั้งโลกเป็นอย่างนี้หมด โลกจะเป็นอย่างไร   รวมทั้งอาจเอาข่าวเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาคุยกัน และผลัดกันออกความเห็นว่าพฤติกรรมในข่าวก่อผลดีหรือผลเสียต่อการอยู่รวมกันเป็นสังคมที่มีสันติสุขอย่างไร สมองด้านจริยธรรมปลูกฝังกล่อมเกลามาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เรียนรู้พัฒนาได้จนสูงวัยและตลอดอายุขัย

         แนวความคิดเรื่องห้าฉลาดนี้ ไม่ใช่จุดสิ้นสุดของการพัฒนาทฤษฎี   ครูเพื่อศิษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะพัฒนาทฤษฎีขึ้นใช้เอง   ทฤษฎีไม่ใช่สิ่งตายตัว มีสิทธิ์สร้างเฉพาะนักวิชาการยิ่งใหญ่เท่านั้น   คนที่มุ่งมั่นทำงานด้านใดด้านหนึ่งมีสิทธิ์พัฒนาทฤษฎีขึ้นใช้เป็นแนวทางในการทำงานสร้างสรรค์ของตน  

          ดังนั้น ครูเพื่อศิษย์ทุกคนควรสร้างทฤษฎีในการทำงานของตน   แล้วลงมือปฏิบัติและหาทางเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อพิสูจน์ว่าทฤษฎีของตนถูกต้องหรือมีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงอย่างไร   การทำงานแบบนี้ คือการทำงานบนฐานการวิจัยนั่นเอง   

คำสำคัญ : ครูเพื่อศิษย์  พัฒนาสมองห้าด้าน  ทักษะครูเพื่อศิษย์   ชีวิตที่พอเพียง

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

การคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking)

ชื่อเรื่อง : การคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking)

ผู้แต่ง : NovaBizz

ผู้จัดพิมพ์ : http://www.novabizz.com/NovaAce/Creative.htm#ixzz1tsHAFsTf

ปีที่พิมพ์ : 2012

จำนวนหน้า : 1  หน้า

ISBN :  –

สาระสังเขป : การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย , จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมี พลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึก

1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย
2. การฝึกการคิดนอกกรอบ
3. การฝึกการคิดทางบวก
4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดละออ

แมรี่ โอมีโอรา ได้กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่เกิดจากจิตอันปราดเปรียวและรวดเร็ว สามารถจับหัวใจประเด็นของปัญหาจากข้อเท็จจริง คำพูด แผนภูมิ ความคิดเห็นต่างๆแล้วนำมาสร้างเป็นข้อเสนออย่างมีพลัง มีความสดใสใหม่ โน้มน้าวจิตใจของผู้พบเห็น

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่มีลักษณะอเนกนัย ประกอบด้วย

1. ความคิดริเริ่ม (Originality) มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากของเดิม / คิดดัดแปลง ประยุกต์เป็นความคิดใหม่
2. ความคิดคล่องตัว (Fluency)
2.1 ด้านถ้อยคำ (Word Fluency) หลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้และไม่ซ้ำแบบผู้อื่น
2.2 ด้านความสัมพันธ์ (Associational Fluency) จากสิ่งที่คิดริเริ่มออกมาได้อย่างเหมาะสม
2.3 ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความคิดที่สามารถนำเอา ความคิดริเริ่มนั้นมา แสดงออก ให้เห็นเป็น รูปภาพได้อย่างรวดเร็ว
2.4 ความคิดคล่องด้านความคิด (Ideational Fluency) เป็นการสร้างความคิดให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดได้ทันที ที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) มีความเป็นอิสระคิดได้หลายๆอย่าง
4. ความคิดสวยงามละเอียดละออ (Elaboration) มีความรอบคอบ มีความคิดสวยงาม ด้านคุณภาพ มีความประณีต ในความคิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้าน

กระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์
James Webb Young ได้เสนอแนวความคิด 5 ขั้นตอน

1. ขั้นรวบรวมวัตถุดิบ
1.1 วัตถุดิบเฉพาะ เป็นข้อมูลวัตถุดิบต่างที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่ต้องการประชาสัมพันธ์
1.2 วัตถุดิบทั่วไป เป็นข้อมูลวัตถุดิบทั่วๆไปทั้งในส่วนขององค์การ และสภาพแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบการสร้าง ความคิดสร้างสรรค์ ให้สมบูรณ์
2. ขั้นบดย่อยวัตถุดิบ เป็นขั้นการนำข้อมูลวัตถุดิบต่างๆ ที่ได้เก็บรวบรวมมาได้ นำมาแจกแจง พิจารณาวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้องกันของข้อมูล
3. ขั้นความคิดฟักตัว
4. ขั้นกำเนิดความคิด
5. ขั้นปรับแต่งและพัฒนา ก่อนไปใช้ปฏิบัติจะนำเสนอความคิดสู่การวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อการปรับแต่ง และพัฒนาความคิด ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เป็นจริง

ผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์
นิวแวล ชอล์ และ ซิมสัน ได้เสนอหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

1. เป็นผลผลิตที่แปลกใหม่และมีค่าต่อผู้คิด สังคมและวัฒนธรรม
2. เป็นผลผลิตที่เป็นไปตามปรากฏการณ์นิยมในเชิงที่ว่ามีความคิดดัดแปลงหรือยกเลิก ความคิดที่เคยยอมรับกัน มาก่อน
3. เป็นผลผลิตซึ่งได้รับจากการกระตุ้นอย่างสูงและมั่นคงด้วยระยะยาว หรือความพยายามอย่างสูง
4. เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลปัญหาซึ่งค่อนข้างจะคลุมเครือและไม่แจ่มชัด

ระดับความคิดสร้างสรรค์

1. ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปประยุกต์ใช้
2. ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง คำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพนำไปประยุกต์ใช้งานได้
3. ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง สรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการสร้างหลักการ ทฤษฎีที่เป็นสากล ยอมรับโดยทั่วไป

กระบวนการดำเนินการการพิจารณาความคิด

1. ประเมินค่าของความคิด
2. การปรับแต่งความคิด
3. การนำความคิดไปปฏิบัติให้เกิดผล

คำสำคัญ : การคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์   NovaBizz

Categories: Uncategorized | ใส่ความเห็น

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.